ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1
การพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งภายในตำบลแม่ลอยเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในท้องถิ่น และการเชื่อมโยงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้
1.1 การพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่ง ทางระบายน้ำ สะพาน ท่าเทียบเรือ และการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุน
1.2 ส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาพืชเกษตร สัตว์เศรษฐกิจ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2
การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้
2.1 ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนได้พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
2.2 ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างอาชีพให้แก่ประชาชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้ แก่ครอบครัว และการจัดการตลาด เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และหัตถกรรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด
2.3 การพัฒนาระบบชลประทาน หรือการพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบบริหารจัดการน้ำ เพื่อสนับสนุนผลผลิตทางด้านการเกษตร และรองรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ การขยายพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ที่ขาดแคลน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
2.4 เพิ่มประสิทธิภาพเมล็ดพันธุ์และพันธุ์สัตว์ ตลอดจนส่งเสริมเครือข่ายการเรียนรู้เกษตรกรในพื้นที่ด้านการผลิต การแปรรูป การจำหน่ายและการตลาด เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
2.5 เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและจัดหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ตามศักยภาพของพื้นที่ให้เป็นโครงข่ายความร่วมมือกับจังหวัด และประเทศ
2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น พร้อมยกระดับมาตรฐานด้านบริการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3
การพัฒนาด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้
3.1 ส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพและตามเกณฑ์มาตรฐาน
3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
3.3 พัฒนาองค์ความรู้บุคลากรทางการศึกษาผู้สอนภาษาต่างประเทศและความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมได้รับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
3.4 สนับสนุนการเรียนรู้คู่คุณธรรม ร่วมกับสถาบันทางศาสนา รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาที่คำนึงถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมทางด้านภาษา และการแต่งกายล้านนา
3.5 ส่งเสริมการเรียนรู้อนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณี สังคมและค่านิยมล้านนาเชื่อมโยงวัฒนธรรมอาเซียน
3.6 พัฒนาสื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง
3.7 ประสานและสร้างความเชื่อมโยงในการศึกษาทุกระดับเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานและศักยภาพกำลังแรงงาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้
4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้มีคุณภาพครอบคลุมโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคีเครือข่าย
4.2 สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและแพทย์ทางเลือกในการดูแลและรักษาสุขภาวะชุมชน
4.3 ส่งเสริมและสนับสนุน การอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมล้านนา จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.4 ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
4.5 สนับสนุนที่พักอาศัยแก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ให้มีที่อยู่อาศัยที่ดี คงทน ถาวร และมีสภาพแวดล้อมที่ดี
4.6 ส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น ตลอดจนให้ความสำคัญกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้ได้รับอาหารเสริมนมและอาหารกลางวันอย่างครบถ้วน และเป็นธรรม
4.7 สนับสนุนงานด้านการส่งเสริมอาชีพและฝึกอาชีพให้กับประชาชน กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มผู้ไม่มีงานทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างงานและอาชีพ รวมทั้งการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการมีงานทำและมีรายได้เพื่อการยังชีพ
4.8 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระเบียบชุมชน งานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย งานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนการให้ความสำคัญกับระบบเตือนภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยพิบัติในท้องถิ่น
4.9 ส่งเสริมและสนับสนุนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ ปัญหาอาชญากรรม และการค้ามนุษย์ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ
4.10 ส่งเสริมสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจควบคู่กับการให้การศึกษา
4.11 ส่งเสริมและสนับสนุน ทะนุบำรุง พระพุทธศาสนา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5
การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์และยั่งยืน มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้
5.1 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสียในชุมชน มลพิษทางอากาศ ตลอดจนการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนท้องถิ่นและลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
5.2 เสริมสร้างความร่วมมือและสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ในการดำเนินการอนุรักษ์ การคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาป่าไม้ น้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ให้เกิดประโยชน์และเกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืนและตามแนวทางพระราชดำริ
5.3 พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.4 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำฝายต้นน้ำ (Check Dam) เพื่อชะลอการไหลของน้ำและตะกอนเสริมความสมบูรณ์ของป่า
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 6
การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้
6.1 ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
6.2 เสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ในชุมชนและท้องถิ่น บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน
6.3 พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการคลัง วิธีการงบประมาณ การบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัยและประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อการแก้ไขปัญหาของประชาชนและการให้การบริการที่มีประสิทธิภาพ
6.4 พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้และเทคโนโลยี สถานที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในตำบลแม่ลอย
6.6 พัฒนาระบบการจัดหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6.7 พัฒนาและบริหารจัดการภารกิจถ่ายโอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
6.8 เสริมสร้างระบบด้านการประสานเครือข่ายในการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็งเพื่อให้เกิดความร่วมมือและการบูรณาการร่วมกั